รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

        สถาบันพระปกเกล้า ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2562 (ในสาขาสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในผลงานเรื่อง “เส้นทางประชาธิปไตยที่ไม่ย้อนกลับ : ปัจจัยเชิงสถาบันการเมืองกับประชาธิปไตยที่ตั่งมั่น เปรียบเทียบการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนตินา ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์” (The Non-Reversible Paths toward Democracy : Institutional Factors and Democratic Consolidation: Comparing Political Transitions in South Korea, Indonesia, Chile, Argentina, Tunisia, Nigeria, Ukraine and Poland) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ได้เข้ารับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติจากพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี

       สถาบันพระปกเกล้า ได้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือเรื่อง “การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ : เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนตินา ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปรแลนด์” ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 โดยหนังสือเล่มนี้มีฐานคิดจากงานวิจัย เรื่อง เส้นทางประชาธิปไตยที่ไม่ย้อนกลับ : ปัจจัยเชิงสถาบันการเมืองกับประชาธิปไตยที่ตั่งมั่น เปรียบเทียบการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนตินา ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์” 


     

                                                                                        

เรื่องย่อ

        งานวิจัยเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับปัจจัยและอิทธิพลที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวต่อการสร้างประชาธิปไตยที่ล้มเหลวและการจรรโลงประชาธิปไตยไม่ให้ไหลย้อนกลับสู่ระบอบอำนาจนิยม ด้วยความเชื่อของผู้วิจัยที่ว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่แนวคิดหรือกระบวนการที่สงวนไว้สำหรับชนชาติตะวันตกเท่านั้น แต่เป็นการเรื่องของมนุษยชาติที่มีรากเหง้าจากธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความต้องการและความสามารถที่จะปกครองตนเอง ซึ่งประเทศที่มีประชาธิปไตยที่งอกงามเป็นที่ประจักษ์ชัดก็มีความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ต่างเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปสู่ประชาธิปไตยโดยมีผลการศึกษาที่ค้ นพบว่า ประเทศที่ประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงทรัพยากรและเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นธรรมกว่า งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบเส้นทางประชาธิปไตยใน 8 ประเทศ 4 ภูมิภาค ได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนตินา ตูนีเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ ที่มีความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยศึกษาในมิติที่เป็นทฤษฎีในเชิงปทัสถานและข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์โดยศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาปัจจัยร่วม นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบด้านกลับของระบบประชาธิปไตยคือ การออกจากระบอบประชาธิปไตย หรือการเปลี่ยนผ่านที่ถดถอยย้อนกลับไปสู่ระบอบอำนาจนิยมและระบบลูกผสม ผลการศึกษาในทั้ง 8 ประเทศทำให้ค้นพบลักษณะร่วมบางประการและภาพสะท้อนต่อความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย

เพิ่มเติม


 


 
image
image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้